วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
การจัดรูปแบบตัวอักษร
หลากหลายวิธีจัดการตัวอักษร
รูปแบบตัวอักษรโดยทั่ว ๆ ไป
การปรับแต่งตัวอักษรให้มีลักษณะต่างไปจากปกติโดยที่เราเป็นคนกำหนดเองว่าต้องการให้ตัวอักษรมีลักษณะใด
เพิ่มเติมขึ้นมานั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบดังต่อไปนี้
กำหนดความหนา
เราใช้ <B> เพื่อกำหนดให้ตัวอักษรมีความหนามากกว่าปกติ ซึ่งการใช้ <B> มีรูปแบบดังนี้
ชื่อแท็ก: B
รูปแบบ: <B>ตัวอักษรที่ต้องการเพิ่มความหนา</B>
ตัวอย่างการใช้: เมื่อกรอกชื่อเรียบร้อยแล้ว ให้เรา<b>คลิก</b>ที่ปุ่ม OK
ตำแหน่งที่ใช้: ระหว่าง <BODY>…</BODY>
กำหนดให้ตัวอักษรเอียง
ต่อไปนี้คือ รูปแบบการใช้งาน < I > ซึ่งเป็นแท็กที่ใช้ในการกำหนดให้ตัวอักษรเอียง
ชื่อแท็ก: I
รูปแบบ: <I>ตัวอักษรที่ต้องการกำหนดให้มีลักษณะเอียง</I>
ตัวอย่างการใช้: จะมีข้อความปรากฏขึ้นมาว่า <i>”ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่…”</i>
ตำแหน่งที่ใช้: ระหว่าง <BODY>…</BODY>
ขีดเส้นใต้ที่ตัวอักษร
เราสามารถเน้นข้อความหรือกำหนดหัวข้อให้เด่นได้ด้วยการขีดเส้นใต้โดยใช้ <U>
ซึ่งรูปแบบการใช้งาน <U> เป็นดังนี้
ชื่อแท็ก: U
รูปแบบ: <U> ตัวอักษรที่ต้องการขีดเส้นใต้ </U>
ตัวอย่างการใช้: กรุณาคลิกที่ปุ่ม <U> Login </U> เพื่อเข้าสู่ระบบ
ตำแหน่งที่ช้: ระหว่าง <BODY>…</BODY>
เลือกฟอนต์ให้ตัวอักษรบางกลุ่ม
เมื่อเราต้องการให้บราวเซอร์ใช้ฟอนต์ที่เรากำหนดแทนฟอนต์ที่ผู้ใช้งานเว็บเพจกำหนดไว้ในบราวเซอร์ เราสามารถ
ใช้แอตทริบิวต์ FACE ของ <FONT> ได้โดยมีรูปแบบดังนี้
ชื่อแท็ก: FONT
ชื่อแอตทริบิวต์: FACE
รูปแบบ: <FONT FACE=”ชื่อฟอนต์”>ตัวอักษร</FONT>
ตัวย่างการใช้: <font face=”freesiaUPC”>เมื่อกรอกชื่อเรียบร้อยแล้ว
ให้เราคลิกที่ปุ่ม OK </font>
ตำแหน่งที่ใช้: <FONT> จะถูกใช้ระหว่าง <BODY>…</BODY>
เลือกฟอนต์ให้ตัวอักษรเหมือนกันทั้งหน้า
จากวิธีการกำหนดของฟอนต์ที่ผ่านมา เราได้กำหนดเฉพาะตัวอักษรบางตัวที่อยู่ระหว่าง <FONT>…</FONT>
เท่านั้น ถ้าเราต้องการกำหนดให้ตัวอักษรทั้งหน้าเว็บเพจใช้ฟอนต์ชนิดเดียวกัน ถึงแม้ว่าเราจะสามารถทำได้ด้วย <FONT>
แต่จะไม่สะดวกสบายเท่ากับการกำหนดด้วย <BASEFONT> ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
ชื่อแท็ก: BASEFONT
รูปแบบ: <BASEFONT>ตัวอักษร
ตัวอย่างการใช้: <basefont>เมื่อกรอกชื่อเรียบร้อยแล้ว…
ตำแหน่งที่ใช้: ระหว่าง <BODY>…</BODY>
ปรับขนาดตัวอักษร
ขนาดของตัวอักษรสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยวิธีให้เลือกใช้หลายวิธี แต่วิธีที่ทำให้เราสามารถกำหนดขนาด
ได้ตามต้องการโดยสามารถทำได้ทั้งการกำหนดขนาดเข้าไปได้โดยตรง และการกำหนดขนาดโดยเปรียบเทียบกับขนาด
ของตัวอักษรปกตินั้นจะเป็นการใช้แอตทริบิวต์ SIZE ของ <FONT> โดยมีรูปแบบดังนี้
ชื่อแอตทริบิวต์: SIZE
รูปแบบ: <FONT SIZE=”1-7 หรือขนาดที่เทียบกับปกติ”>ตัวอักษร</FONT>
ตัวอย่างการใช้: <font size=”5”>”ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่…”</font>หรือ
<font size=”+2”>”ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่…”</font> หรือ
<font size=”-1”>”ยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่…”</font>
ตำแหน่งที่ใช้: ภายในแท็กเปิดของ <FONT>
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น